ความสัมพันธ์ของสหรัฐฯ และอิหร่าน ยิ่งแย่ลงไปอีกในปี 1988 เมื่อเรือรบของสหรัฐฯ ยิงเครื่องบินโดยสารพลเรือนของอิหร่านแอร์ตกบริเวณช่องแคบฮอร์มุซ (Strait of Hormuz) เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 290 คน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้แสวงบุญที่จะเดินทางไปยังนครเมกกะ สถานที่ศักดิ์สิทธิของชาวมุสลิม โดยสหรัฐฯ ระบุแต่เพียงว่าเป็นความผิดพลาด คิดว่าเครื่องบินลำดังกล่าวคือเครื่องบินรบ อีกทั้งยังไม่เคยขอโทษต่อเหตุการณ์ดังกล่าว 14. ในยุคประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ของสหรัฐฯ ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศดำดิ่งถึงจุดต่ำสุด เมื่อในปี 2002 ประธานาธิบดีบุชประณามว่าอิหร่านเป็นหนึ่งในประเทศ “แกนแห่งความชั่วร้าย” (Axe of evil) ร่วมกับอิรักและเกาหลีเหนือ โดยสาเหตุหลักมาจากการที่อิหร่านเดินหน้าพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อย่างเต็มตัว 15. จนในที่สุดในปี 2006 อิหร่านถูกนานาชาติคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอย่างหนัก หลังจากที่ยังไม่หยุดโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และการสะสมแร่ยูเรเนียมที่ใช้ในหัวรบนิวเคลียร์ การคว่ำบาตรระลอกนี้ทำให้เงินลงทุนจากต่างชาติที่ลงไปสู่อิหร่านหยุดชะงัก การส่งออกน้ำมันของอิหร่านออกไปขายในหลายประเทศถูกตัดขาด รวมถึงเงินฝากและเงินลงทุนที่อิหร่านมีในหลายประเทศ ก็ถูกอายัดไว้ชั่วคราวด้วย เรียกได้ว่าการคว่ำบาตรระลอกนี้ทำให้เศรษฐกิจของอิหร่านเสียหายอย่างหนัก 16.
แต่สิ่งที่ทำให้สหรัฐฯ ไม่พอใจนายพลโซเลมานีมากที่สุด คือการที่เขามีส่วนทำให้ทหารอเมริกันในตะวันออกกลางเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก โดยหลังจากที่สหรัฐฯ บุกอิรักในปี 2003 นายพลโซเลมานีได้สั่งการให้กองกำลังติดอาวุธในอิรักที่เป็นพันธมิตรกับอิหร่าน โจมตีฐานที่มั่นและกองกำลังทหารอเมริกันในอิรัก รวมถึงเป็นผู้จัดหาระเบิดที่สามารถฉีกทะลุเกราะรถถังของสหรัฐฯ ให้กับกองกำลังในอิรักด้วย เป็นเหตุให้ทหารอเมริกันเสียชีวิตไปหลายร้อยนาย นอกจากนั้นแล้ว กลุ่มติดอาวุธหลายกลุ่มที่หน่วยรบพิเศษคุดส์เข้าไปให้การสนับสนุน ยังถูกสหรัฐฯ จัดให้เป็น “กลุ่มก่อการร้าย” ด้วย ทั้งกลุ่มเฮซบอลเลาะห์ในเลบานอน และกลุ่มฮามาส 7. จนในที่สุด ในเดือน เม. ย. ปี 2019 ที่ผ่านมานี้เอง กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้ประกาศให้ กองกำลังป้องกันการปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน (Islamic Revolutionary Guard Corps: IRGC) ซึ่งเป็นหน่วยงานแม่ของหน่วยรบพิเศษคุดส์ เป็น “กลุ่มก่อการร้าย” อย่างเป็นทางการ โดยให้เหตุผลกว่า IRGC ทำให้ทหารอเมริกันในอิรักเสียชีวิตไปแล้วอย่างน้อย 603 คนนับตั้งแต่ปี 2003 อีกทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการวางแผนก่อการร้ายต่างๆ ทั่วตะวันออกกลางซึ่งเป็นเหตุให้พลเมืองสหรัฐฯ ต้องเสียชีวิต นอกจากนั้น ยังระบุด้วยว่า IRGC ได้เคยวางแผนการก่อการร้ายที่จะสังหารทูตของซาอุดิอาระเบียประจำสหรัฐฯ บนแผ่นดินของสหรัฐฯ เอง เพียงแต่ว่าแผนการดังกล่าวถูกสกัดกั้นไว้ได้ก่อน นั่นเท่ากับว่านับตั้งแต่เดือน เม.
ย้อนกลับไปในปี 1953 ในขณะนั้นอิหร่านมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งที่ชื่อ โมฮัมหมัด มอสซาเดก (Mohammad Mossaddegh) นายกฯ ของอิหร่านคนนี้ต้องการที่จะยึดสิทธิการผลิตน้ำมันในอิหร่านให้กลับมาเป็นของรัฐ ทำให้อังกฤษซึ่งในขณะนั้นควบคุมกิจการน้ำมันส่วนใหญ่ในอิหร่านไม่พอใจ และร่วมวางแผนกับสหรัฐฯ ในการรัฐประหารกำจัดนายมอสซาเดกออกจากรัฐบาล และแต่งตั้งพระเจ้าชาห์ หรือ โมฮัมหมัด เรซา ชาห์ (Mohammad Reza Shah) ขึ้นบริหารประเทศแทน 10. พระเจ้าชาห์ปกครองอิหร่านอยู่นานกว่า 25 ปี แต่ในที่สุดเสียงสนับสนุนของเขาจากประชาชนและชนชั้นนำด้วยกันก็เสื่อมถอยลงจากปัญหาหลายอย่าง จนในปี 1979 เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ขึ้นในอิหร่านเพื่อขับไล่พระเจ้าชาห์ โดยในครั้งนั้นชาวอิหร่านกว่า 2 ล้านคนออกมาประท้วงบนท้องถนน ในที่สุดพระเจ้าชาห์ต้องลงจากตำแหน่ง และทำให้ อยาตอลเลาะห์ โคไมนี (Ayatollah Khomeini) ขึ้นมาเป็นผู้นำสูงสุดของอิหร่านแทน และนับจากนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระหว่าง สหรัฐฯ และอิหร่าน ก็มีแต่แย่ลง ท่ามกลางความรู้สึกของชาวอิหร่านในขณะนั้น ที่รู้สึกไม่พอใจและต่อต้านชาวอเมริกันอย่างสูง 11.
2018 ประธานาธิบดีทรัมป์ของสหรัฐฯ ได้ประกาศถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์ดังกล่าว โดยบอกว่า นี่เป็นดีลแย่ๆ ที่อิหร่านได้ประโยชน์อยู่ฝ่ายเดียว เป็นข้อตกลงที่ไม่ควรมีการเซ็นกันแต่ต้น อีกทั้งยังเป็นข้อตกลงที่ไม่มีทางนำความสุขสงบมาได้เลย นับแต่นั้นความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน ก็มีแต่ดิ่งเหวลง และการที่สหรัฐฯ ประกาศให้ กองกำลังป้องกันการปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน (Islamic Revolutionary Guard Corps: IRGC) เป็นองค์กรก่อการร้ายช่วงกลางปี 2019 ก็เหมือนเป็นอีกหนึ่งเชื้อเพลิง ที่พร้อมจะโหมให้ไฟความขัดแย้งระหว่าง 2 ประเทศลุกโชนขึ้นได้อีก 19. ความระหองระแหงระหว่างอิหร่านและสหรัฐฯ ในยุคประธานาธบดีทรัมป์ มาถึงจุดแตกหักจากเหตุการณ์เมื่อปลายเดือน ธ.
2019 โดยในวันศุกร์ที่ 27 ธ. ฐานทัพสหรัฐฯ ใกล้เมือง Kirkuk ประเทศอิรัก ถูกโจมตีด้วยจรวดขีปนาวุธกว่า 30 ลูก เป็นเหตุให้พลเมืองสหรัฐฯ 1 คน ที่ทำงานในฐานทัพดังกล่าวเสียชีวิต โดยการโจมตีในครั้งนี้ สหรัฐฯ สรุปว่าเป็นฝีมือของกลุ่มคาตาอิบ ฮิซบอลเลาะห์ (Kataib Hezballah) กองกำลังติดอาวุธในอิรักที่หน่วยรบพิเศษคุดส์ของอิหร่านให้การสนับสนุน 20.
67% ซึ่งสามารถนำไปใช้ในโรงไฟฟ้าได้เท่านั้น (การผลิตหัวรบนิวเคลียร์ ต้องใช้ยูเรเนียมที่มีความบริสุทธิ์ 90% ขึ้นไป) โดยแลกกับการที่ 6 ประเทศมหาอำนาจ รวมถึงสหภาพยุโรป ยกเลิกการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิหร่าน หลังจากข้อตกลงนิวเคลียร์ดังกล่าวเริ่มบังคับใช้ในเดือน ม. ค. 2016 อิหร่านสามารถเข้าถึงทรัพย์สินในต่างประเทศมูลค่ากว่า 100, 000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ถูกอายัดไว้ก่อนนี้ได้ รวมถึงสามารถขายน้ำมันในตลาดต่างประเทศ และใช้ระบบการเงินโลกในการค้าขายได้อีกครั้ง เรียกได้ว่า เป็นดีลที่ วิน-วิน สำหรับทั้งอิหร่านที่ต้องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ และประชาคมโลกที่ต้องการเห็นอิหร่านระงับการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ 18. แต่ข้อตกลงนิวเคลียร์ดังกล่าวนี้ก็อยู่ได้ไม่นาน เมื่อในเดือน พ.
ด้วยบทบาทที่หลากหลายและทรงอิทธิพลของเขาในตะวันออกกลาง ทำให้อดีตเจ้าหน้าที่ CIA ของสหรัฐฯ อย่าง John Maguire เคยให้สัมภาษณ์ไว้ตั้งแต่ปี 2013 ว่า นายพลโซเลมานี “เป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในตะวันออกกลาง” นอกจากนี้ ในอิหร่าน เขายังถูกมองว่าเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดอันดับ 2 รองจาก อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดเท่านั้น อีกทั้งยังได้รับการยกย่องว่าเป็นรัฐมนตรีการต่างประเทศตัวจริงของอิหร่านในเรื่องความสงบและสงคราม 3. แต่ย้อนกลับไปในวัยเด็ก โซเลมานีไม่ได้มีชีวิตที่สุขสบาย เขาเกิดในครอบครัวที่ยากจน และไม่ได้รับการศึกษาทางการที่สูงนัก ในวัย 13 ปี เขาต้องทำงานหนักเพื่อจ่ายคืนหนี้ ที่ผู้เป็นพ่อสร้างไว้และไม่สามารถจ่ายคืนเองได้ 4. แต่ชีวิตของเขาก็พบจุดเปลี่ยน เมื่อเกิดสงครามระหว่าง อิหร่าน-อิรัก ขึ้นในทศวรรษ 1980 โซเลมานีเข้าร่วมสงครามในฐานะพลทหารธรรมดา แต่ความสามารถด้านกลยุทธ์และการทหาร ทำให้ภารกิจที่เขาได้รับมอบหมายในสงครามครั้งนั้นพบแต่ความสำเร็จ เมื่อบวกกับความโด่ดเด่นด้านความเป็นผู้นำ ทำให้เมื่อสงครามจบในอีก 8 ปีต่อมา โซเลมานีกลายเป็นหนึ่งในฮีโร่สงครามสำหรับชาวอิหร่าน และเป็นหนึ่งในนายทหารอายุน้อยที่โด่ดเด่นที่สุดคนหนึ่ง 5.
ปี 2019 เป็นต้นมา ในสายตาของสหรัฐฯ แล้ว หน่วยรบพิเศษคุดส์ของอิหร่าน ที่มีนายพลโซเลมานีเป็นผู้นำ มีสถานะไม่ต่างอะไรจากกลุ่มก่อการร้ายอื่นๆ อย่าง อัลกออิดะห์ เฮซบอลเลาะห์ และ ISIS 8. อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน ที่นำมาสู่การสังหารนายพลโซเลมานีในครั้งนี้ ได้ไม่เพิ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อหนึ่งปีก่อนเมื่อสหรัฐฯ ประกาศให้ IRGC เป็นองค์กรก่อการร้าย ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่ออิหร่านมีส่วนในการตายของทหารอเมริกันในอิรักในปี 2003 แต่เป็นความขัดแย้งที่มีรากยาวนานเกือบ 70 ปี นับตั้งแต่สหรัฐฯ เข้าไปมีส่วนในการวางแผนรัฐประหารนายกฯ ของอิหร่านในทศวรรษ 1950 9.
สรุป สหรัฐฯ VS อิหร่าน แบบเข้าใจง่ายขบวนรถยนต์ของ นายพลกาเซม โซเลมานี (Qasem Soleimani) นายทหารคนสำคัญของอิหร่าน ขณะกำลังเดินทางออกจากสนามบินในกรุงแบกแดด เมืองหลวงของอิรัก ส่งผลให้นายพลโซเลมานีเสียชีวิตทันที นี่ไม่ใช่การโจมตีทางการทหารธรรมดาๆ เพราะเป้าหมายในครั้งนี้ คือนายพลผู้ทรงอิทธิพลที่สุด และถือเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดอันดับ 2 ของอิหร่าน เป็นรองแค่ อาลี คาเมเนอี (Ali Khamenei) ผู้นำสูงสุดเท่านี้ การโจมตีที่ทำให้โลกต้องตกตะลึงครั้งนี้มีที่มาอย่างไร อิหร่านและพันธมิตรในตะวันออกกลางจะตอบโต้สหรัฐฯ แบบไหน ความขัดแย้งครั้งนี้จะนำไปสู่สงครามเต็มรูปแบบระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านหรือไม่ รวมถึงคำถามที่หลายคนสงสัย ว่าเหตุการณ์ครั้งนี้จะเป็นชนวนไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 3 ได้หรือไม่ ทีมข่าวเวิร์คพอยท์มีคำตอบให้ใน 28 ข้อ 1. นายพลกาเซม โซเลมานี ถือเป็นนายทหารคนสำคัญที่สุดของอิหร่าน ในวันที่เสียชีวิต เขาอายุ 62 ปี และเป็นผู้บัญชาการของหน่วยรบพิเศษคุดส์ (Quds Force) ที่ปฏิบัติการอยู่ทั่วตะวันออกกลาง เขาคือผู้ชักใยความเคลื่อนไหวหลายอย่างที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง ทั้งสงครามกลางเมืองในซีเรีย การขึ้นมาของกลุ่มติดอาวุธในอิรัก รวมถึงมีบทบาทอย่างสูงในสงครามต่อต้านกลุ่มก่อการร้าย ISIS ทั่วตะวันออกกลาง 2.
สงครามอิรัก–อิหร่าน - วิกิพีเดีย
วิเคราะห์สาเหตุจุดแตกหัก ' อิหร่าน-สหรัฐ' - PPTVHD36
อิหร่าน : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ - InfoQuest Limited
ฟุตบอลโลก 2022 กลุ่ม B ใครเข้ารอบ? ใครแชมป์กลุ่ม? อังกฤษฉลุย
หลังจากพระเจ้าชาห์ถูกขับออกจากตำแหน่งในปี 1979 เขาได้เดินทางไปรักษาโรคมะเร็งที่สหรัฐฯ ในขณะที่ทางการอิหร่านได้ขอให้สหรัฐฯ ส่งตัวพระเจ้าชาห์กลับประเทศ เพื่อขึ้นศาลจากข้อครหาเกี่ยวกับอาชญากรรมที่เขาทำในช่วงครองอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ตำรวจลับในปฏิบัติการปิดปากผู้เห็นต่าง แต่ทางการสหรัฐฯ ปฏิเสธไม่ส่งตัวพระเจ้าชาห์กลับไปให้อิหร่าน 12. ความไม่พอใจของชาวอิหร่านที่มีอยู่เป็นทุนเดิมต่อสหรัฐฯ ที่มองว่าเป็นทั้งผู้อยู่เบื้องหลังการรัฐประหารในอิหร่านในทศวรรษ 1950 รวมถึงความพยายามของสหรัฐฯ ที่พยายามบั่นทอนกองกำลังปฏิวัติอิหร่านในการขับไล่พระเจ้าชาห์ ทำให้ในเดือน พ. 1979 นักศึกษาหัวรุ่นแรงกลุ่มหนึ่งได้บุกเข้าไปในสถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงเตหะราน เมืองหลวงของอิหร่าน และจับตัวประกันชาวอเมริกันจำนวน 52 คน ไว้นาน 444 วัน เหตุการณ์ดังกล่าวนี้รู้จักกันในชื่อ “วิกฤติตัวประกันอิหร่าน” (Iran hostage crisis) และยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน ยิ่งแย่ลง หลังเหตุการณ์ดังกล่าว สหรัฐฯ ได้เริ่มมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิหร่านเป็นครั้งแรก 13.
ศ. 2015 สำหรับการกลับมาบังคับใช้มาตรการลงโทษในครั้งนี้ สหรัฐฯ ได้พยายามตัดรายได้ของรัฐบาลอิหร่านที่จะนำไปใช้สนับสนุนกิจกรรมที่บั่นทอนความมั่นคงของโลก และได้ร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในโลกในการยุติการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านให้ได้มากที่สุด รวมทั้งจะขึ้นบัญชีบุคคลและองค์กรต่างชาติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอิหร่านให้ไม่สามารถเข้าถึงระบบการเงินของสหรัฐฯ และไม่สามารถทำธุรกิจกับสหรัฐได้ มาตรการลงโทษที่นำกลับมาบังคับใช้ครั้งนี้ ในช่วงแรกมีเป้าหมายที่ธุรกิจยานยนต์ การค้าขายทองคำ และโลหะสำคัญ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2561 ส่วนการบังคับใช้มาตรการลงโทษรอบที่สองมีผลบังคับใช้วันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 โดยมีเป้าหมายที่อุตสาหกรรมสาขาพลังงาน ธุรกรรมที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ธุรกิจขนส่งสินค้าทางเรือ อุตสาหกรรมต่อเรือ และการทำธุรกรรมของสถาบันการเงินต่างประเทศกับธนาคารกลางของอิหร่าน อย่างไรก็ดี มาตรการลงโทษยังคงยกเว้นการซื้อขายอาหาร สินค้าเกษตร เวชภัณฑ์ และเครื่องมือทางการแพทย์ ในการบังคับใช้มาตรการลงโทษรอบแรก ทางสหรัฐฯ ยึดมั่นที่จะบังคับใช้มาตรการลงโทษดังกล่าว อย่างเต็มที่ และจะดำเนินการอย่างใกล้ชิดกับประเทศที่ยังดำเนินธุรกิจกับอิหร่าน ให้ปฏิบัติตามมาตรการลงโทษดังกล่าว โดยที่บุคคลหรือองค์กรใดที่ไม่ยุติการทำธุรกิจกับอิหร่านมีความเสี่ยงต่อผลลัพธ์ที่ร้ายแรง ส่งผลให้บริษัทต่างชาติจำนวนมากได้ประกาศความตั้งใจที่จะถอนตัวจากการทำธุรกิจ และระบุว่าจะลดหรือยุติการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่าน โดยสหรัฐฯ ยังได้ผลักดันให้ทุกประเทศดำเนินมาตรการในลักษณะเดียวกัน และกล่าวเตือนอิหร่านว่ามีเพียง 2 ทางเลือกเท่านั้น คือ เปลี่ยนพฤติกรรมของตนที่เป็นภัยคุกคามและกลับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลก หรือเดินหน้าต่อไปในเส้นทางที่จะนำไปสู่การถูกโดดเดี่ยวทางเศรษฐกิจ การดำเนินการของสหรัฐฯ ยังรวมถึงการที่ประธานาธิบดีทรัมป์ลงนามใน Executive Order “Reimposing Certain Sanctions with Respect to Iran” สอดคล้องกับ Presidential Memorandum เมื่อ 8 พฤษภาคม 2561 ที่สหรัฐฯ ประกาศถอนตัวจากความตกลง JCPOA ซึ่งการถอนตัวจากความตกลงของสหรัฐฯ ถือเป็นการใช้แรงกดดันสูงสุด (maximum pressure) ทางเศรษฐกิจต่ออิหร่าน จนถึงปัจจุบันรัฐบาลประธานาธิบดีทรัมป์ได้บังคับใช้มาตรการลงโทษต่ออิหร่านถึง 17 ครั้ง ขึ้นบัญชีลงโทษบุคคลและองค์กรต่าง ๆ 145 ราย บังคับใช้มาตรการลงโทษทั้งหมดที่เคยยกเว้นภายใต้ JCPOA ทำให้ตัวบุคคล องค์กร เรือ และเครื่องบินจำนวนหลายร้อยรายการที่เคยถูกขึ้นบัญชีก่อนหน้าก็จะกลับมาถูกรัฐบาลสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีรายชื่อนี้อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ รายละเอียดของสาขาธุรกิจที่เป็นเป้าหมายของการกลับมาบังคับใช้มาตรการลงโทษของสหรัฐฯ ต่ออิหร่านตามที่ปรากฏในประกาศของทำเนียบประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีดังนี้ (1) การซื้อหรือครอบครองธนบัตรดอลลาร์สหรัฐ โดยรัฐบาลอิหร่าน (2) การซื้อขายทองคำ และโลหะมีค่าอื่น ๆ (3) กราไฟต์ อลูมิเนียม เหล็ก ถ่านหิน และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม (4) ธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเงินสกุลเรียลของอิหร่าน (5) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหนี้ภาครัฐ (sovereign debt) ของอิหร่าน (6) อุตสาหรรมรถยนต์ของอิหร่าน ในการบังคับใช้มาตรการลงโทษรอบสอง ทำเนียบประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้เผยแพร่ข้อมูลเรื่องการกลับมาบังคับใช้มาตรการลงโทษทั้งหมดของสหรัฐฯ ที่เคยยกเว้นภายใต้ JCPOA ต่ออิหร่าน และยืนยันถึงผลบังคับใช้วันที่ 5 พฤศจิกายน ๒๕๖๑ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้บรรยายสรุปกับผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับเป้าหมายหลักของการบังคับใช้มาตรการลงโทษที่จะมีผลบังคับใช้ว่าเป็นการตัดรายได้ของรัฐบาลอิหร่านที่จะนำไปใช้สนับสนุนกิจกรรมที่บั่นทอนความมั่นคงในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก และเพื่อบังคับให้อิหร่านละทิ้ง “well-documented outlaw activities” และควรมีพฤติกรรมเหมือนประเทศอื่น ๆ ทั่วไป (normal country) ทั้งนี้ เพื่อให้ “pressure campaign” ประสบผลสำเร็จมากที่สุด สหรัฐฯ ได้ร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ เพื่อยุติการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านให้มากที่สุด สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ได้ติดตามการกลับมาของมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ต่ออิหร่านอย่างใกล้ชิดเพื่อผลประโยชน์ของภาคเอกชนไทยที่ดำเนินธุรกิจหรือประสงค์จะดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับอิหร่าน โดยในระหว่างที่รอติดตามข่าวมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านคราวนี้ของสหรัฐฯ ภาคเอกชนไทยจำเป็นที่จะต้องเตรียมพร้อม โดยศึกษาถึงสถานการณ์อย่างเข้าใจว่าสามารถทำสิ่งใดได้ และสิ่งใดยังคงต้องระมัดระวัง ทั้งนี้ หน่วยงานและองค์กรที่อาจยังมีการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอิหร่านควรทราบพัฒนาการล่าสุดดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดจากมาตรการตอบโต้และลงโทษของรัฐบาลสหรัฐฯ ต่อบุคคลและองค์กรที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการของสหรัฐฯ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยสามารถตรวจสอบรายชื่อที่ได้รับการขึ้นบัญชีลงโทษรอบใหม่เพิ่มเติมได้ที่ https://www.
อเมริกา-อิหร่าน : 5 เหตุผลทำไมวิกฤตนี้ยังไม่จบ - BBC News ไทย